กลุ่มบริษัท L'Oréal
เป็นกลุ่มบริษัทเครื่องสำอางและบริษัทด้านความงามที่ใหญ่ที่สุดในโลก บริษัทเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการดูแลเส้นผม, การเปลี่ยนสีผม, การดูแลผิว, เครื่องสำอาง
และน้ำหอม โดยมีแบรนด์ในเครือทั้งหมด 33 แบรนด์ วางขาย 130 ประเทศทั่วโลก และมีพนักงานกว่า 68,900
คนทั่วโลก ซึ่งสำหรับบริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด ก็เพิ่งครบรอบ 12 ปี
ซึ่งตอนนี้ก็ประสบความสำเร็จในการเป็น 1 ใน 3 แบรนด์ผลิตภัณฑ์เสริมความงามที่มีชื่อติดหู
และคนไทยเลือกใช้มากที่สุดของประเทศ
ความเป็นมาของกลุ่มบริษัทลอรีอัลในประเทศไทย
พ.ศ. 2528
|
ลอรีอัลแต่งตั้งเอเยนต์เพื่อดูแลการนำเข้าและทำตลาดผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภคและผลิตภัณฑ์สำหรับช่างผมมืออาชีพ
|
พ.ศ. 2533
|
ลอรีอัล ก่อตั้งบริษัท สยามพาร์ จำกัด
เป็นบริษัทสาขาแห่งแรกในประเทศไทย
เพื่อรับผิดชอบการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์แบรนด์ต่างๆ ในแผนกผลิตภัณฑ์ความงามชั้นสูง
ได้แก่ ลังโคม กีลาโรช ราฟ ลอเรน และจิออร์จิโอ อาร์มานี่
|
พ.ศ. 2534
|
ลอรีอัล แต่งตั้งบริษัท เนสเล่ท์
ให้เป็นผู้ดูแลการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภคและผลิตภัณฑ์สำหรับช่างผมมืออาชีพ
|
พ.ศ. 2537
|
ลอรีอัลก่อตั้งบริษัทสาขาในประเทศไทยแห่งที่ 2
ในนามบริษัท ไทยลอร์
จำกัดเพื่อรับผิดชอบจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภคและผลิตภัณฑ์สำหรับช่างผมมืออาชีพ
|
พ.ศ. 2540
|
ลอรีอัลมีความคิดที่จะรวมบริษัท 2
สาขาเป็นหนึ่งเดียว
พร้อมทั้งเปิดตัวผลิตภัณฑ์ไบโอเธิร์มในแผนกผลิตภัณฑ์ความงามชั้นสูง และ
เมย์เบลลีน นิวยอร์ค ในแผนกผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค
|
พ.ศ. 2541
|
บริษัท สยามพาร์ จำกัด
เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท ไทยลอร์ จำกัด และเปิดตัวด้วยเว็บไซท์ภาษาไทยของลังโคมเป็นครั้งแรก
|
พ.ศ. 2542
|
ลอรีอัล เปิดตัวการ์นิเย่
ในตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคเป็นครั้งแรก
|
พ.ศ. 2543
|
บริษัท ไทยลอร์ จำกัด เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท
ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด พร้อมทั้งเปิดตัวเว็บไซท์ภาษาไทยของบริษัท
|
พ.ศ. 2544
|
ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด ย้ายที่ทำการมาอยู่
ณ อาคารบางกอก ซิตี้ ทาวเวอร์ใจกลางย่านธุรกิจของกรุงเทพฯ
พร้อมทั้งเปิดตัวแผนกเวชสำอาง (Active Cosmetic) เพื่อดูแลธุรกิจเวชสำอางที่จำหน่ายผ่านทางแพทย์ผิวหนัง
ซึ่งก็ได้เปิดตัวแบรนด์ ลา โรช โพเซย์ ภายใต้แผนกเวชสำอางด้วย นอกจากนั้น
ยังก่อตั้งศูนย์วิจัยเชิงคุณภาพที่กรุงเทพฯ ซึ่งจัดเป็นศูนย์วิจัยอันดับที่ 4
ของทวีปเอเชีย และเริ่มทำการวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภค โดยเฉพาะด้านเส้นผมและการบำรุงผิวพรรณและในปีเดียวกันนี้
ลอรีอัลยังเปิดตัวแบรนด์ ชู อุเอมูระ สู่แผนกผลิตภัณฑ์ความงามชั้นสูงในประเทศไทยอีกด้วย
|
พ.ศ. 2545
|
เปิดตัวแบรนด์วิชี่
แบรนด์ที่สองของแผนกเวชสำอางในประเทศไทย
|
พ.ศ. 2550
|
ลอรีอัล เปิดตัวสามแบรนด์ใหม่เข้าสู่ประเทศไทย
ได้แก่ คีลส์ และ วิคเตอร์ แอนด์ รอล์ฟ ในแผนกผลิตภัณฑ์ความงามชั้นสูง และ
แมทริกซ์ ในแผนกผลิตภัณฑ์ช่างผมมืออาชีพ
|
พ.ศ. 2551
|
เปิดตัวแบรนด์น้ำหอมดีเซลเข้าสู่แผนกผลิตภัณฑ์ความงามชั้นสูง
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น